รายละเอียดหลักสูตร
ประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
Certification of Surgical Research, Faculty of Medicine Siriraj Hospital
หลักสูตรนี้เป็นรายวิชาที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลเปิดสอนให้แก่บุคคลทั่วไปที่สนใจพัฒนาความรู้ทางการศึกษา โดยเป็นการเรียนร่วมกับนักศึกษาหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยศัลยศาสตร์ ซึ่งจัดสอนนอกเวลาราชการ เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจที่จะพัฒนางานวิจัยทางศัลยศาสตร์ งานวิจัยเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยผ่าตัด หรือผู้ที่มองอนาคตการทำงานทางด้านศัลยกรรม หรือผู้ที่อยากพัฒนางานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพก็สามารถเรียนได้
ระยะเวลาเรียนของหลักสูตร
ระยะเวลาเรียนปกติใช้เวลาประมาณ 1 ปีการศึกษา
ภาคเรียนที่ 1
เดือนสิงหาคม ถึง เดือนพฤศจิกายน 2567
ภาคเรียนที่ 2
เดือนมกราคม ถึง เดือนพฤษภาคม 2568
เวลาเรียน
เรียนนอกเวลาราชการ (ตามตารางสอน)
วัน
เวลา
วันจันทร์ - ศุกร์
วันเสาร์
17.00 - 20.00 น.
9.00 - 12.00 น. และ 13.00 - 16.00 น.
สามารถเลือกเรียนในห้องเรียน หรือ เรียนทางไกลผ่านระบบ Online ก็ได้
กำหนดการรับสมัคร
หลักสูตรฯ เปิดรับสมัคร 2 รอบ
รอบที่ 1
รอบที่ 2
วันที่ 10 มิ.ย. - 12 ก.ค. 2567
วันที่ 1 พ.ย. - 13 ธ.ค. 2567
คุณสมบัติผู้สมัคร
บุคคลทั่วไป จบการศึกษาปริญญาตรี หรือสูงกว่าปริญญาตรี สาขาวิชาใดก็ได้
การประเมินผลเพื่อสำเร็จการศึกษา
โปสเตอร์
รายวิชาที่เปิดสอน
รายวิชาที่เปิดสอนทั้งหมด 11 Modules
ภาคการศึกษาที่ 1
ภาคการศึกษาที่ 2
ระยะเวลา 4 เดือน (เดือนสิงหาคม ถึง เดือนพฤศจิกายน 2567)
ระยะเวลา 4 เดือน (เดือนมกราคม ถึง เดือนพฤษภาคม 2568)
Module 6: หลักการพื้นฐานทางศัลยพยาธิวิทยา
Module 7: จริยธรรม และ ความเป็นมืออาชีพทางศัลยศาสตร์
Module 8: ทักษะที่ไม่ใช่เทคนิคทางวิชาชีพทางศัลยศาสตร์
Module 9: การพัฒนาทักษะเชิงเทคนิคและการวัดผล
Module 10: การตรวจวินิจฉัยด้วยภาพถ่ายในผู้ป่วยศัลยกรรม
Module 11: หลักการพื้นฐานของห้องผ่าตัดและเครื่องมือทาง
ศัลยกรรม
Module 1: วิธีวิจัยทางศัลยศาสตร์
Module 2: สถิติในงานวิจัยศัลยศาสตร์
Module 3: กายวิภาคศาสตร์ประยุกต์ทางศัลยศาสตร์
Module 4: สรีรวิทยาประยุกต์ทางศัลยศาสตร์
Module 5: พยาธิสรีรวิทยาของภาวะทางศัลยกรรม
คำอธิบายรายวิชา
หลักการพื้นฐานของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ คำถามวิจัย และสมมติฐาน ประเด็นทางจริยธรรมในการทำวิจัย การทบทวนวรรณกรรม ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ความถูกต้องและความเที่ยงตรง การวิจัยโดยการทดลอง การวิจัยทางวิทยาศาสตร์พิ้นฐาน การศึกษาผู้ป่วยกับกลุ่มเปรียบเทียบ การศึกษาตามรุ่น การวิจัยหาความสัมพันธ์ การสำรวจ คุณภาพชีวิต การเขียนโครงร่างงานวิจัย และการเตรียมบทความต้นฉบับ
Basic principles of scientific research, research questions and hypotheses, ethical issues in research, literature review, population and samples, validity and reliability, experimental research, basic science research, case-control and cohort study, correlation research, survey, quality of life, research proposal and manuscript preparation
หลักการพื้นฐานทางสถิติ การวัด มาตรวัด และการจัดการข้อมูล สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน ข้อมูลประเภทกลุ่มและการทดสอบแบบไคว์แสควร์ การทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม สหสัมพันธ์และการถดถอย การวิเคราะห์อัตราการรอดชีวิตและการถดถอยแบบคอกส์ สถิติแบบที่ไม่ใช้พาราเมตริก กำลังทางสถิติและการคำนวณขนาดตัวอย่าง ข้อมูลที่ขาดหายและการใส่แทนข้อมูล ตารางและแผนภูมิ
Basic principles of statistics, measurement scale and data management, descriptive statistics, inferential statistics, categorical data and chi-square, testing the differences between groups, correlation and regression, survival analysis and Cox regression, non-parametric statistics, statistical power and sample size calculation, missing data and data imputation, table and graph
กายวิภาคศาสตร์ประยุกต์ทางกุมารศัลยศาสตร์ กายวิภาคศาสตร์ประยุกต์ในศัลยศาสตร์ของศีรษะ คอ และเต้านม กายวิภาคศาสตร์ประยุกต์ในศัลยศาสตร์หลอดเลือด กายวิภาคศาสตร์ประยุกต์ในศัลยศาสตร์ระบบทางเดินตับ น้ำดี และตับอ่อน กายวิภาคศาสตร์ประยุกต์ในศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก กายวิภาคศาสตร์ประยุกต์ในศัลยศาสตร์ระบบทางเดินอาหารส่วนบน กายวิภาคศาสตร์ประยุกต์ในประสาทศัลยศาสตร์ กายวิภาคศาสตร์ประยุกต์ในศัลยศาสตร์ตกแต่ง กายวิภาคศาสตร์ประยุกต์ในศัลยศาสตร์ทางเดินปัสสาวะ กายวิภาคศาสตร์ประยุกต์ในศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก
Applied anatomy in pediatric surgery, applied anatomy in head-neck and breast surgery, applied vascular anatomy, applied anatomy in hepatobiliary and pancreas surgery, applied anatomy in colorectal surgery, applied anatomy in upper GI surgery, applied anatomy in neurosurgery, applied anatomy in plastic and reconstructive surgery, applied anatomy in urology, applied anatomy in cardiothoracic surgery
สรีรวิทยาประยุกต์ในกุมาศัลยศาสตร์ สรีรวิทยาประยุกต์ในศัลยศาสตร์ศีรษะ คอและเต้านม สรีรวิทยาประยุกต์ในศัลยศาสตร์หลอดเลือด สรีรวิทยาประยุกต์ในศัลยศาสตร์ตับ ทางเดินน้ำดี และตับอ่อน สรีรวิทยาประยุกต์ในศัลยศาสตร์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก สรีรวิทยาประยุกต์ในการผ่าตัดทางเดินอาหารส่วนบน สรีรวิทยาประยุกต์ในการผ่าตัดรุกล้ำน้อย สรีรวิทยาประยุกต์ในศัลยกรรมประสาท สรีรวิทยาประยุกต์ในศัลยศาสตร์ตกแต่ง สรีรวิทยาประยุกต์ในศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ สรีรวิทยาประยุกต์ในศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก
Applied physiology in pediatric surgery, applied physiology in head-neck and breast surgery, applied physiology in vascular surgery, applied physiology in hepatobiliary and pancreas surgery, applied physiology in colorectal surgery, applied physiology in upper GI surgery, applied physiology in minimally invasive surgery, applied physiology in neurosurgery, applied physiology in plastic surgery, applied physiology in urology, applied physiology in cardiothoracic surgery
การตอบสนองทางเมตาโบลิกต่อการบาดเจ็บ การจัดการสารน้ำและเกลือแร่ในผู้ป่วยศัลยศาสตร์ ภาวะเลือดออกและการหยุดเลือด ภาวะช็อก แผลและการหายของแผล การติดเชื้อทางศัลยศาสตร์ และยาปฏิชีวนะ หลักการของศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา การปลูกถ่ายอวัยวะ การประเมินและเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดและภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด
Metabolic responses to injury, fluid and electrolyte management in surgical patients, hemostasis and bleeding, shock, wounds and wound healing, surgical infection and antibiotics, principles of trauma, burn, surgical oncology, transplantation, preoperative evaluation and preparation, postoperative care and surgical complications
หลักการพื้นฐานของการเตรียมสิ่งส่งตรวจทางศัลยกรรมเพื่อการวินิจฉัยและงานวิจัย การจัดการและตรวจสิ่งส่งตรวจด้วยตาเปล่า ขั้นตอนทางห้องปฏิบัติการทางพยาธิวิทยา วิธีการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา การรายผลตรวจทางพยาธิวิทยา การวินิจฉัยระยะและปัจจัยพยากรณ์โรคมะเร็ง การย้อมอิมมูโนฮิสโตเคมีและดัชนีวัดทางชีวภาพในงานศัลยพยาธิวิทยา เซลล์วิทยา และการให้คำปรึกษาระหว่างผ่าตัด การเชื่อมโยงทางคลินิกและพยาธิวิทยาในโรคทางศัลยกรรมที่พบบ่อย
Basic principles of specimen preparation for diagnostic service and research, specimen handling and gross examination, pathology laboratory processing, diagnostics, pathologic reporting, staging and prognostic factors of cancer, and immunohistochemistry and biomarkers in surgical pathology, cytology, and intraoperative consultation, clinicopathologic correlation in common surgical conditions
หลักการพื้นฐานของจริยธรรมทางศัลยกรรม ความเป็นมืออาชีพทางศัลยศาสตร์ จริยธรรมในการเรียนการสอนทางศัลยศาสตร์ ประเด็นทางจริยธรรมในสัมพันธภาพระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับลูกศิษย์ ประเด็นทางจริยธรรมในการวิจัยทางศัลยศาสตร์ จริยธรรมกับความหลากหลาย จริยธรรมในศัลยศาสตร์ในระดับโลก การขอความยินยอมในการทำหัตถการ ประเด็นที่เกี่ยวกับการดูแลช่วงท้ายของชีวิต จริยธรรมกับการสร้างนวัตกรรมทางศัลยศาสตร์ แนวทางในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในการปฏิบัติงานศัลยศาสตร์ จริยธรรมกับมะเร็ง แนวทางการสอนจริยธรรมทางศัลยกรรม
Foundations of surgical ethics, Surgical professionalism, Ethics in academic surgery, Ethical issues of the mentor-mentee relationship, ethical issues in surgical research, Ethics and diversity, ethics in global surgery, informed consent, End-of-life issues, Ethics and surgical innovation, how to solve ethical conflicts in surgical practice, ethics and cancer, how to teach surgical ethics
หลักการพื้นฐานของทักษะที่ไม่ใช่เทคนิคทางวิชาชีพทางศัลยศาสตร์ ความปลอดภัยของผู้ป่วย การตระหนักรู้ในสถานการณ์ การตัดสินใจ การสื่อสาร การทำงานเป็นทีม การเป็นผู้นำ การจัดการความเครียดและความเหนื่อยล้า การประยุกต์ใช้ทักษะที่ไม่ใช่เทคนิคทางวิชาชีพในที่สถานที่ปฏิบัติงาน
Basic principles of non-technical skills in surgery, patient safety, situation awareness, decision making, communication skills, teamwork, leadership, stress and fatigue management, application of non-technical skills in workplace
โมเดลทักษะเดรย์ฟัสหกขั้นตอน การฝึกปฏิบัติด้วยความมุ่งมั่น การจำลองสถานการณ์ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในการผ่าตัด ชั่วโมงการทำงานประจำ ปฏิกิริยาของศัลยแพทย์ต่อข้อผิดพลาด การยศาสตร์ของการผ่าตัด การวัดผลการศึกษา การออกแบบเครื่องมือประเมิน การประเมินประสิทธิภาพในการผ่าตัดรุกล้ำน้อย
Six stages of Dreyfus skill model, Deliberate practice, Simulation, surgical workplace learning environment, resident duty hours, surgeons’ reactions to error, surgical ergonomics, educational measurement, Designing an assessment tool, performance assessment in minimally invasive surgery
หลักการของภาพถ่ายในทางศัลยศาสตร์ การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายระบบทางเดินอาหาร การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายทางศัลยศาสตร์ตับ ตับอ่อน และทางเดินน้ำดี การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายทางระบบหัวใจและระบบหายใจ การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายทางระบบประสาท การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายบริเวณศีรษะ คอ เต้านม การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายทางระบบทางเดินปัสสาวะ การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายทางศัลยศาสตร์หลอดเลือด การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายในกุมารศัลยศาสตร์ การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายในศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ
Principles of imaging in surgery, applied imaging in gastrointestinal system, applied imaging in hepatobiliary and pancreas surgery, applied imaging in cardiac and respiratory system, applied imaging in nervous system, applied imaging in head neck breast region, applied imaging in urology, applied imaging in vascular surgery, applied imaging in pediatric surgery, applied imaging in trauma surgery
หลักการออกแบบห้องผ่าตัด บุคลากรในห้องผ่าตัด วัสดุเย็บแผล หลักการในการเชื่อมต่อ เครื่องมือทางศัลยกรรมพื้นฐาน การจัดการอุปกรณ์พลังงาน การจัดท่าทางศัลยกรรม การเข้าถึงบริเวณผ่าตัด หลักการพื้นฐานของการผ่าตัดแบบรุกล้ำน้อย การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ วิธีปรับปรุงทักษะการผ่าตัดรุกล้ำน้อยโดยใช้เครื่องจำลองการผ่าตัด
Principles of operating room design, Personnel in operating rooms, suture material, principles of anastomosis, basic surgical instruments, handling of energy devices, surgical positioning, surgical access, principles of minimally invasive surgery, robotic surgery, how to improve minimally invasive surgical skills using surgical simulator
รูปแบบการเรียน
รูปแบบการเรียน
เรียนนอกเวลาราชการ ตามกำหนดการในตารางสอน
โดยผู้เรียนสามารถเลือกเรียน ระหว่างการเรียนในห้องเรียน (face-to-face classroom) หรือการเรียนทางไกล (online) ก็ได้
2.1 การเรียนแบบ face-to-face คือ การเรียนในห้องเรียนตามตารางสอนของรายวิชาที่กำหนด
2.2 การเรียนแบบ online มี 2 รูปแบบ คือ
• แบบ Synchronous คือ เวลาเรียนต้องเข้าเรียนผ่านระบบออนไลน์ในรูปแบบ real time ตามตารางสอนกำหนด โดยมีวิธี
การวัดและประเมินผลเก็บคะแนน ณ วันที่เรียนตามตารางสอนของรายวิชานั้นๆ
• แบบ Asynchronous คือ เรียนโดยการดู VDO ย้อนหลัง โดยวิธีการวัดและประเมินผลหรือการเก็บคะแนนในแต่ละคาบเรียน
จะแตกต่างกันเพื่อนที่เรียนแบบ Synchronous online ซึ่งอาจารย์แต่ละรายวิชาจะให้ Assignment และกำหนดส่งตาม
timeline ที่กำหนดจริง
ขั้นตอนการสมัคร
วิธีการสมัครเข้าเรียน
ผู้สนใจศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตร สามารถเลือกสมัครได้ ดังนี้
1. ยินยอมให้หลักสูตรฯ ดำเนินการสมัครแทน
ยินยอมให้หลักสูตรฯ ดำเนินการสมัครแทน เป็น ผู้สมัครกรอกข้อมูล และ อัพโหลดเอกสาร (สำเนาปริญญาบัตร , สำเนาทรานสคริปต์ , สำเนาบัตรประชาชน หรือ หนังสือเดินทาง , รูปถ่าย , ประสบการณ์การทำงาน) ให้ครบถ้วน เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับข้อมูลครบถ้วนแล้ว เจ้าหน้าที่หลักสูตรจะดำเนินการสมัครกับบัณฑิตวิทยาลัยแทนท่าน สามารถลงทะเบียนได้ ตั้งแต่ วันที่ 10 มิ.ย. - 12 ก.ค. 2567 เท่านั้น และหลักสูตรฯ จะติดต่อกับท่านอีกครั้งเพื่อให้ท่านดำเนินการกดยืนยันการลงทะเบียนด้วยตัวท่านเอง
หากท่านยินยอมให้หลักสูตรฯ สมัครแทน กรุณาคลิกปุ่มด้านล่าง
ค่าลงทะเบียนและทุนการศึกษา
ค่าลงทะเบียน
อัตราค่าลงทะเบียนหลักสูตรประกาศนียบัตรการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ตลอดหลักสูตร จำนวน 80,800 บาท
(ค่าลงทะเบียนรายวิชา 76,500 บาท และค่าธรรมเนียมการศึกษา 4,300 บาท)
ขั้นตอนการสมัครและชำระเงิน
1. สมัครรายวิชาสำหรับบุคคลทั่วไป (บัณฑิตวิทยาลัย) ตามอัตราค่าหน่วยกิต
2. ลงทะเบียน / ชำระค่าธรรมเนียม (Sirirajconfernece)
การลงทะเบียนเรียนใน Module 1-11 เป็นการลงทะเบียนเรียนผ่านโครงการรับบุคคลทั่วไปเข้าศึกษารายวิชาระดับบัณฑิตศึกษา ผ่านระบบลงทะเบียนของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
อัตราค่าลงทะเบียนเป็นไปตามประกาศอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาสำหรับบุคคลทั่วไปเข้าศึกษารายวิชาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2562
ตารางสอน
(5 ส.ค.- 29 พ.ย. 67)
หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ คุณสุชีรา โทร. 02 419 4947 หรือ 02 419 4948